สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 8-14 มิ.ย. 61



ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
 
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่
- โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี
- โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่)
- โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
- โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่
- โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
- โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
- โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี
- โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปีปีการผลิต 2560

 
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ บาท 15,844 ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,736 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,035 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,176 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,850 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 36,810 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,610 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,830 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,240 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39,457 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,263 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40,063 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 606 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 437 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,905 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 446 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,147 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 242 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 424 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,492 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 431 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,671 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.62 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 179 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,714 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 436 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,830 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.28 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 116 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.8199

 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

เวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวขาว 5% ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 465-475 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (ซึ่งเป็นราคาสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2555) เพิ่มขึ้นจาก 455-460 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันเมื่อสัปดาห์ก่อน แม้จะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวฤดูการผลิตฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูร้อน (the spring-summer crop) บางส่วนแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากอุปทานข้าวในตลาดยังคงอยู่ในภาวะตึงตัว ขณะที่ผู้ส่งออกข้าวกำลังจับตาไปที่การทำสัญญาขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล
          สมาคมอาหารเวียดนาม (the Vietnam Food Association; VFA) รายงานว่า การส่งออกข้าวในเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมา มีประมาณ 621,000 ตัน มูลค่าประมาณ 309.528 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.92 และร้อยละ 34.16 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมของปีที่ผ่านมาที่ส่งออก 513,570 ตัน มูลค่า 230.716 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2561 (มกราคม-พฤษภาคม) เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 2.526 ล้านตัน มูลค่า 1.238 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.38 และร้อยละ 32.85 เมื่อเทียบกับในช่วง 5 เดือนแรกของปีที่ผ่านมาที่ส่งออก 2.116 ล้านตัน มูลค่า 931.860 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          ทางด้านกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในเดือนเมษายน 2561 เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 791,210 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.67 เมื่อเทียบกับจำนวน 708,550 ตัน ในมีนาคมที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.85 เมื่อเทียบกับจำนวน 614,052 ตัน ในเดือนเมษายน 2560 ที่ผ่านมา
          โดยตลาดส่งออกที่สำคัญในเดือนเมษายน 2561 ประกอบด้วย ตลาดเอเชียจำนวน 657,125 ตัน
ตลาดแอฟริกาจำนวน 60,205 ตัน ตลาดอเมริกาจำนวน 61,139 ตัน ตลาดยุโรปและเครือรัฐเอกราช (Europe and CIS countries) จำนวน 5,879 ตัน และตลาดออสเตรเลียจำนวน 6,862 ตัน ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2561 เวียดนามส่งออกข้าวขาว 5% จำนวน 151,410 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 365 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 194,215 ตัน ข้าวขาว 25%
จำนวน 1,965 ตัน ปลายข้าวขาว 100% จำนวน 8,544 ตัน ข้าวหอม (Jasmine rice) 250,707 ตัน ข้าวเหนียว 139,913 ตัน และข้าวชนิดอื่นๆ จำนวน 44,091 ตัน
          ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี (มกราคม-เมษายน ) กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากกรมศุลกากรของเวียดนามและสมาคมอาหารเวียดนาม (the General Customs Office and the Vietnam Food Association) ว่า เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 2.434 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดเอเชียมีสัดส่วนส่งออกประมาณร้อยละ 83 ตลาดแอฟริกาประมาณร้อยละ 8 ตลาดอเมริกาประมาณร้อยละ 6 ตลาดออสเตรเลียและตลาดยุโรปตลาดละประมาณร้อยละ 1
         
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 
          มาเลเซีย
          รัฐบาลมาเลเซียเตรียมเสนอกรอบการทำงานใหม่สำหรับอุตสาหกรรมข้าวเปลือกและข้าวสารของประเทศ หลังจากที่มีการยกเลิกการผูกขาดในการนำเข้าข้าวของหน่วยงาน Padiberas National Bhd (Bernas)
          ทั้งนี้ รัฐบาลกำลังรวบรวมข้อเสนอแนะจากกระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (the Agriculture and Agro-based Industry) และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในอนาคต เพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรในท้องถิ่น โดยรัฐบาลจะดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ระบบที่มีการใช้ในประเทศอื่นที่มีการนำเข้าข้าว เช่น อินโดนีเซียซึ่งประสบความสำเร็จในแนวทางที่เกี่ยวกับการผูกขาดในสินค้าข้าว
          ก่อนหน้านี้ มีข่าวว่าทางการมาเลเซียมีแผนที่จะทบทวนนโยบายด้านการนำเข้าข้าวที่ปัจจุบันเป็นระบบผูกขาดโดยมีหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาลเป็นผู้ควบคุมการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีระบุว่ารัฐบาลจะศึกษาประเด็นเหล่านี้และพิจารณาว่าควรยกเลิกนโยบายนี้หรือไม่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมด้านราคาข้าว
ในประเทศ ซึ่งในปัจจุบันนี้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการนำเข้าข้าวคือ Padiberas Nasional Bhd (Bernas)
          ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร (Agriculture and Agro-based Industry Minister) กล่าวว่ารัฐบาลไม่มีแผนที่จะปิดหน่วยงาน Padiantas Nasional Berhad (Bernas) แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายลดการผูกขาดการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศลง
          โดยรัฐบาลกำลังวางแผนที่จะยกเลิกผูกขาดการนำเข้าข้าวของ Bernas โดยจะให้ใบอนุญาตนำเข้ากับบริษัทอื่นๆด้วย ทั้งนี้ จะมีหน่วยงานอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการลดการผูกขาดนำเข้าข้าว แต่จนถึงขณะนี้กระทรวงยังไม่ได้สรุปว่าจะมีหน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องบ้าง ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ในระดับกระทรวงก่อนร่างข้อเสนอ และยื่นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาป
          ทางด้านประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Bernas ได้ให้ความเห็นในกรณีนี้ว่า ควรมีการรักษารูปแบบการผูกขาด
ในการนำเข้าข้าวบางส่วนไว้ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์และความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกร พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า
การยกเลิกมาตรการผูกขาดในการนำเข้าข้าวอาจไม่ช่วยทำให้ราคาข้าวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะราคาข้าวในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำและการที่ราคาข้าวลดลงจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรอย่างรุนแรง
          ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายรับประกันการซื้อคืนในกรณีของข้าว ซึ่ง Bernas ได้ใช้ผลกำไรจากการนำเข้าข้าวและ
นำไปอุดหนุนเกษตรกรในท้องถิ่น บทบาทของ Bernas อยู่ในฐานะยามเฝ้าประตูซึ่งเป็นเครื่องจักรสำคัญในการจัดหาและเก็บสต็อกข้าวให้เพียงพอ
         
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 
          อินเดีย
          รัฐบาลจีนและอินเดียได้หารือในระดับผู้นำสูงสุดเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือทางด้านการค้าและการแบ่งปันทรัพยากรน้ำ โดยรัฐบาลจีนจะแบ่งปันข้อมูลทางอุทกวิทยา (hydrological data) เกี่ยวกับแม่น้ำพรหมบุตร (Brahmaputra river) ในอินเดีย และแก้ไขข้อกำหนดบางประการเกี่ยวกับการส่งออกข้าวชนิดอื่นๆ นอกจาก
ข้าว Basmati จากอินเดียไปยังประเทศจีน
          ทั้งนี้ อินเดียยังคงกังวลเกี่ยวกับภาวการณ์ขาดดุลการค้ากับจีนที่เพิ่มสูงขึ้น และแสวงหาโอกาสในการส่งออกสินค้าไปยังจีน เช่น ข้าว พืชตระกูลน้ำมัน (rapeseed) ถั่วเหลือง และน้ำตาล
          ปัจจุบันแม้ว่าข้าวของอินเดียจะสามารถแข่งขันด้านราคากับประเทศอื่นๆ ได้ แต่อินเดียไม่สามารถส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติไปยังประเทศจีนได้ เนื่องจากยังไม่มีการลงนามในพิธีสารด้านสุขอนามัยพืชกับจีน ซึ่งหากทั้งสองประเทศสามารถลงนามในประเด็นนี้ได้แล้ว จะทำให้อินเดียสามารถส่งออกข้าวไปยังจีนได้ถึงปีละ 1 ล้านตัน
          ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบปีนี้ ท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจาก ต่างประเทศที่ลดลง และกระแสข่าวที่ว่ารัฐบาลบังคลาเทศจะปรับภาษีนำเข้าข้าวจากอัตราร้อยละ 2 ขึ้นเป็นร้อยละ 28 (เป็นภาษีศุลกากรร้อยละ 25 และภาษีอากรปกติร้อยละ 3) ในปีงบประมาณ 2561/62 เพื่อปกป้องเกษตรกรในประเทศ หลังจากที่คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวในฤดูการผลิต Aman และ Boro จะได้ผลดี  ทั้งนี้ ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ 393-397 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ลดลง 6 ดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 399-403 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า
          ในปีนี้มีการคาดการณ์ว่าอินเดียอาจจะส่งออกลดลงประมาณ 0.5-1 ล้านตัน จากปีที่แล้ว เนื่องจากคาดว่า การส่งออกไปยังประเทศบังคลาเทศจะลดลงจากปีที่ผ่านมา โดยในปีงบประมาณที่ผ่านมาอินเดียส่งออกข้าว ประมาณ 12.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าประมาณร้อยละ 18 เนื่องจากในปีที่แล้วมีการนำเข้าข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น บังคลาเทศ ศรีลังกา รวมทั้งตลาดในแอฟริกาจำนวนมาก
          คาดการณ์ปีงบประมาณ 2561/62 บังคลาเทศจะนำเข้าลดลง เนื่องจากคาดว่าผลผลิตข้าวในประเทศจะเพิ่มขึ้น จากการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น หลังจากที่ภาวะราคาข้าวในประทศพุ่งสูงขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา
          ปีงบประมาณ 2560 บังคลาเทศถือเป็นตลาดส่งออกของอินเดียทีมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 โดยในช่วง ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 ถึง เมษายน 2561 มีการนำเข้าข้าวไปแล้วประมาณ 3.7 ล้านตัน ซึ่งถือเป็นการนำเข้าสูงที่สุดของบังคลาเทศ นอกจากบังคลาเทศแล้ว อิหร่านและซาอุดิอาระเบียก็เป็นตลาดนำเข้าข้าวบาสมาติรายใหญ่ของ อินเดีย โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 7.5 และร้อยละ 7 ตามลำดับ และคาดว่าในปีงบประมาณนี้อิหร่านจะยังคงเป็นตลาดใหญ่ของอินเดีย
         
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 
ราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.64 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.43 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.51 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.57 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ10.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.62 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.38 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.58
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 344.40 ดอลลาร์สหรัฐ (10,925 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 348.50 ดอลลาร์สหรัฐ (11,069 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 144.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 382.00 เซนต์ (4,835 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 398.35 เซนต์ (5,048 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.11 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 213.00 บาท

 



มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64, 10.69 และ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.13 ล้านตัน (ร้อยละ 4.15 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – พฤษภาคม 2561) ปริมาณ 23.78 ล้านตัน (ร้อยละ 87.31 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์สูง ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์สูงด้วยเช่นกัน
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.53 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.55 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.78    
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.09 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.93 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.22 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.20 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.28   
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.53 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 16.65 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.72
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 238 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,549 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 10 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 553 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 17,541 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 23 บาท

 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.281 ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.218  ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.336 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.227 ล้านตัน ของเดือนพฤษภาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 4.12  และร้อยละ 3.96 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.90 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 3.38 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 15.38                                   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 23.80 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 22.25 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.97  
   
2.  ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนสิงหาคม 2561 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,365 ริงกิตต่อตัน (596.69 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 0.92 เนื่องจากผลกระทบราคาน้ำมันพืชถั่วเหลืองปรับตัวลดลงร้อยละ 4.9 ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวลดลง ราคาน้ำมันปาล์มดิบยังได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของน้ำมันบริโภคที่มีส่วนร่วมของตลาดน้ำมันพืชโลก ซึ่งความต้องการน้ำมันปาล์มดิบของผู้นำเข้าชะลอตัวลง และการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียในเดือนพฤษภาคมลดลงร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมาปริมาณอยู่ที่ 1.2 ล้านตัน รวมทั้งอินโดนีเซียผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลกในเดือนเมษายนชะลอตัวเช่นเดียวกัน ลดลงร้อยละ 13.6 อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบมีแนวโน้มลดลงอยู่ที่ระดับ 2,364 – 2,408 ริงกิตต่อตัน
 
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
          ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,411.42 ดอลลาร์มาเลเซีย  (19.70 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,440.52 ดอลลาร์มาเลเซีย  (19.92 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.19
          ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 663.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (21.34 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 665.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (21.41 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.19 
 
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
 
 


อ้อยและน้ำตาล 
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ 
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและ     การผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 จนถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2561 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 134.93 ล้านตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 14.68 ล้านตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 10.69 ล้านตัน และน้ำตาลทรายขาว 3.99 ล้านตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.48 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 108.79 กก.ต่อตันอ้อย
 
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ


ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 998.45 เซนต์ (11.79 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,028.30 เซนต์ (12.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.90
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 366.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.79บาท/กก.)  ลดลงจากตันละ 378.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.17 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.02
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 30.83 เซนต์ (21.83 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 31.29 เซนต์ (22.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.47

 


ยางพารา
 
 

 
สับปะรด
ผลผลิต ลดลง
ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดเดือนมิถุนายน2561 ประมาณ  0.230 ล้านตัน หรือร้อยละ 10.21 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.248 ล้านตัน ลดลงจากปริมาณ 0.318 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 27.67 และเพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.157 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 46.49
การส่งออก ลดลง
ปี 2561 (มกราคม-เมษายน) มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 0.582 ล้านตันสด ลดลงจากปริมาณ 0.703 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2560 หรือลดลงร้อยละ 17.21 โดยเดือนเมษายนส่งออกปริมาณ 0.124 ล้านต้นสด ลดลงจาก 0.151 ล้านตันสด ร้อยละ 17.88 และลดลงจาก 0.152 ล้านตันสด ของเดือนที่ผ่านมาและในช่วงเดียวกันของปี 2560 ร้อยละ 18.42
ราคา ลดลง  
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผลผลิตสับปะรดปีออกสู่ตลาดมาก โดยมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณวันละ 10,000 - 12,000 ตัน ขณะที่ปัจจุบันความต้องการวัตถุดิบของโรงงานแปรรูปมีประมาณวันละ 9,000 - 10,000 ตัน ทำให้โรงงานแปรรูปปรับราคารับซื้อลดลง โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ ดังนี้
- สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 2.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.86 และลดลงจากกิโลกรัมละ 4.50 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 54.66           
- สับปะรดบริโภคกิโลกรัมละ 6.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.63 และลดลงจากกิโลกรัมละ 10.28 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 39.10  
 

 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
                                                                                                                                                                                                                                                                                                     
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 24.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.33
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 12.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.33
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 25.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.70
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 849.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 786.25 ดอลลาร์สหรัฐ (24.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.97 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 722.60 ดอลลาร์สหรัฐ (22.92 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 722.50 ดอลลาร์สหรัฐ (22.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.01 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 532.60 ดอลลาร์สหรัฐ (16.89 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 532.75 ดอลลาร์สหรัฐ (16.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 374.20 ดอลลาร์สหรัฐ (11.87 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 405.75 ดอลลาร์สหรัฐ (12.89 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.78 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 748.00 ดอลลาร์สหรัฐ (23.73 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 811.50 ดอลลาร์สหรัฐ (25.77 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.83 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.04 บาท

 


ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ ดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.36 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.51
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด  สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.72 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.12
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
 


ฝ้าย
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 91.98 เซนต์(กิโลกรัมละ 65.19 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 91.45 เซนต์ (กิโลกรัมละ 64.90 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.29 บาท
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,658 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา      
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,275 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา      
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,141 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
          ในสัปดาห์นี้ภาวะตลาดสุกร  ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
          สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  56.54  บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.33  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.37  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 56.96 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 52.25 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 57.21 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 59.69 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 58 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
          สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อไก่ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย   แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.83  บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.66  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.49  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 34.21 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.03 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
          สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคอ่อนตัวลงจากเริ่มมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น ขณะที่ผลผลิตไข่ไก่ในท้องตลาดยังคงมีมาก  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  277 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 279 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 279 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 274 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ  18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
         ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 328 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 325  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.92 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ
 349 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
         ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ   
         ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.08  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.15 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.07 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ  90.63 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 99.56 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
         ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 71.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 72.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.31 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.82 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา​ 
 


 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 1 – 7 มิถุนายน 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ  
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.67 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.00 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.47 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 86.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.24 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.45 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 121.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ  131.67 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 119.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 12.50 บาท                                                                                                                                              
 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.47 บาท    ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 161.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 165.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.67 บาท ราคาทรงตัวเทากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 1 – 7 มิ.ย. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท